|
ความเป็นมาของโครงการ
กรมทางหลวงได้จัดทำแผนพัฒนาทางหลวง โดยกำหนดตามทิศทางของการพัฒนาระบบคมนาคมและขนส่งของแผนพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติแต่ละฉบับมาตามลำดับงานที่ดำเนินการจะครอบคลุมถึงโครงการใหม่ ซึ่งเป็นงบลงทุนก่อสร้างและบูรณะทางหลวงทั่วประเทศ อาทิ งานก่อสร้างทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง งานก่อสร้างเพิ่มมาตรฐานทางหลวงให้เป็น 4 ช่องจราจรหรือมากกว่า งานบูรณะและปรับปรุงทางลาดยางเดิม
งานก่อสร้างเป็นทางลาดยาง มาตรฐานงานก่อสร้างทางแนวใหม่ งานก่อสร้างทางแยกต่างระดับและสะพานลอย ตลอดจนงานอำนวยความปลอดภัย เป็นภารกิจหลักที่กรมทางหลวงมุ่งที่จะพัฒนาให้สมบูรณ์ ในการดำเนินการให้เป็นไปตามแผนงานดังกล่าว กรมทางหลวงจะต้องจัดเตรียมโครงการให้เป็นไปตามแผนงาน โดยเฉพาะงานสำรวจและออกแบบ ซึ่งในปีงบประมาณนี้มีโครงการก่อสร้างเพิ่มมากขึ้นเพื่อให้การเตรียมโครงการเป็นไปตามแผนงาน และเพื่อเป็นการส่งเสริมกิจการของที่ปรึกษาไทยตามนโยบายรัฐบาล กรมทางหลวงจึงแบ่งงานส่วนหนึ่ง เพื่อว่าจ้างบริษัทวิศวกรที่ปรึกษาช่วยในการสำรวจและออกแบบ ซึ่งจะช่วยให้งานสำรวจและออกแบบเป็นไปตามแผนทันกับงานโครงการก่อสร้าง และงานจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินที่จะดำเนินการได้เมื่อมีแบบแล้ว
ทางหลวงหมายเลข 12 เป็นทางหลวงสำคัญสำหรับการเดินทางภายในจังหวัดสุโขทัย เป็นเส้นทางเข้าสู่แหล่งมรดกโลกสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญของจังหวัด ปัจจุบันทางหลวงหมายเลข 12 มีปริมาณการจราจรเพิ่มสูงขึ้นจำเป็นต้องเพิ่มประสิทธิภาพทางหลวงหรือตามความเหมาะสม เพื่อเพิ่มความคล่องตัว (Mobility) ในการเดินทางขนส่งคนและสินค้าและรองรับการท่องเที่ยวในพื้นที่ ปัจจุบันแนวเส้นทางมีปริมาณการจราจรเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทำให้ผู้ใช้ทางไม่ได้รับความสะดวกในการเดินทาง อีกทั้งแนวเส้นทางของโครงการผ่านพื้นที่อ่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อมโดยผ่านพื้นที่แหล่งโบราณสถาน ซึ่งเข้าข่ายต้องจัดทำรายจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ตามประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดประเภทและขนาดโครงการหรือกิจการ
ซึ่งต้องจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมฯ เพื่อให้เป็นไปตามมาตรา 48 แห่ง พ.ร.บ.ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ.2535 และ ฉบับที่ 2 พ.ศ.2561 ดังนั้น จึงมีความจำเป็นต้องดำเนินการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม เพื่อให้สอดคล้องกับประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมข้างต้น ทั้งนี้ เพื่อให้การพัฒนาโครงการก่อให้เกิดผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งประชาชนที่อยู่บริเวณพื้นที่โครงการน้อยที่สุด |
|
|
วัตถุประสงค์ของโครงการ |
|
- เพื่อสำรวจและออกแบบปรับปรุงทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 12 ตอน เมืองเก่า - สุโขทัย ทางหลวงหมายเลข 101 ตอน คลองโพธิ์ - ท่าช้าง และทางหลวง หมายเลข 1293 ตอน สุโขทัย ท่าฉนวน ให้มีประสิทธิภาพและได้มาตรฐานตามเกณฑ์ที่กรมทางหลวงกำหนด ถูกต้องตามหลักวิศวกรรม สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และสอดคล้องกับความต้องการของประชาชนในพื้นที่
- เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพโครงข่ายทางหลวง รองรับปริมาณการจราจรที่เพิ่มขึ้นในอนาคตและเพิ่มความสะดวกรวดเร็วในการเดินทาง การขนส่งสินค้า และรองรับรับการท่องเที่ยวในพื้นที่
- เพื่อศึกษา รวมรวม วิเคราะห์สภาพแวดล้อมปัจจุบันและดำเนินการประเมินผลกระทบทางสังคมและสิ่งแวดล้อมที่อาจเกิดขึ้นจากการพัฒนาโครงการ พร้อมทั้งเสนอมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม มาตรการติดตามตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อม
- เปิดโอกาสให้ประชาชน หน่วยงาน องค์กรต่างๆ ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น ให้ข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ต่อโครงการ โดยเฉพาะสภาพปัญหาและข้อจำกัดต่าง ๆ เพื่อนำไปพิจารณาประกอบการศึกษาและดำเนินโครงการต่อไป
- เพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ข้อมูลโครงการ ความเป็นมา วัตถุประสงค์ของการศึกษา ขอบเขตการศึกษา และแนวคิดเบื้องต้นในการพัฒนาโครงการ ให้กลุ่มเป้าหมายทุกภาคส่วนรับทราบข้อมูลอย่างต่อเนื่อง
|
|
|
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ |
|
|
- เพิ่มประสิทธิภาพโครงข่ายทางหลวงให้สามารถรองรับปริมาณการจราจรบริเวณทางหลวงหมายเลข 12 ตอน เมืองเก่า - สุโขทัย ทางหลวงหมายเลข 101 ตอน คลองโพธิ์ - ท่าช้างและทางหลวงหมายเลข 1293 ตอน สุโขทัย ท่าฉนวน ที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคตได้
- เพื่อลดโอกาสในการเกิดอุบัติเหตุ ทำให้ผู้ใช้เส้นทางสามารถเดินทางได้สะดวกรวดเร็วและปลอดภัย
- เพิ่มความคล่องตัว (Mobility) ในการเดินทางขนส่งคนและสินค้า และรองรับการท่องเที่ยวในพื้นที่
|
|
|
ที่ตั้งและบริเวณพื้นที่ศึกษาโครงการ |
|
|
โครงการจ้างวิศวกรที่ปรึกษาสำรวจและออกแบบเพิ่มประสิทธิภาพทางหลวง บนทางหลวงหมายเลข 12 ตอน เมืองเก่า - สุโขทัย ทางหลวงหมายเลข 101 ตอน คลองโพธิ์ - ท่าช้างและทางหลวงหมายเลข 1293 ตอน สุโขทัย ท่าฉนวน มีจุดเริ่มต้นโครงการบนทางหลวงหมายเลข 12 ประมาณ กม.ที่ 163+945 สิ้นสุดบนทางหลวงหมายเลข 12 ประมาณ กม.ที่ 171+606 จุดเริ่มต้นบนทางหลวงหมายเลข 101 ประมาณ กม.ที่ 79+000 สิ้นสุดบนทางหลวงหมายเลข 101 ประมาณ กม.ที่ 82+450 และจุดเริ่มต้นบนทางหลวงหมายเลข 1293 ประมาณ กม.ที่ 0+000 จุดสิ้นสุดโครงกางบนทางหลวงหมายเลข 1293 ประมาณ กม.ที่ 2+025 มีระยะทางรวมประมาณ 13.136 กิโลเมตร แสดงดังรูปที่ 1 โดยพื้นที่ศึกษาโครงการครอบคลุมพื้นที่ตำบลเมืองเก่า ตำบลบ้านกล้วย ตำบลปากแคว ตำบลธานี และตำบลบ้านหลุม อำเภอเมืองสุโขทัย จังหวัดสุโขทัย ซึ่งมีพื้นที่การศึกษาและประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมในระยะ 500 เมตร จากกึ่งกลางแนวเส้นทางโครงการ
|
|
|
พื้นที่ศึกษาโครงการในระยะ 500 เมตร จากกึ่งกลางแนวเส้นทาง
จังหวัด |
อำเภอ |
ตำบล |
พื้นที่ปกครองส่วนท้องถิ่น |
สุโขทัย |
เมืองสุโขทัย |
เมืองเก่า |
องค์การบริหารส่วนตำบลเมืองเก่า |
|
|
บ้านกล้วย |
เทศบาลตำบลบ้านกล้วย |
|
|
ปากแคว |
องค์การบริหารส่วนตำบลปากแคว |
|
|
ธานี |
เทศบาลเมืองสุโขทัยธานี |
|
|
บ้านหลุม |
องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านหลุม |

|
|
|
|
|
|
ขอบเขตของงานบริการที่ปรึกษา |
|
|
 |
|
|
|
|
|
ขั้นตอนการดำเนินงานของโครงการ |
|
|
 |
|
|
|
|
|
งานศึกษาด้านสิ่งแวดล้อม |
|
|
การจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมของโครงการ โดยดำเนินการให้สอดคล้องกับ แนวทางในการจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมของโครงการทางหลวง (Guidelines for Preparation of Environmental Impact Statement of A Rode Scheme ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 9 เดือนพฤศจิกายน 2567) ของกลุ่มงานสิ่งแวดล้อม สำนักแผนงาน กรมทางหลวง และดำเนินการตามแนวทางในประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดโครงการ กิจการ หรือการดำเนินการ ซึ่งต้องจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม และหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม) พ.ศ. 2566 |
|
|
 |
|
|
ระยะเวลาดำเนินการ |
|
|
เริ่มปฏิบัติงานตั้งแต่ วันที่ 4 มีนาคม 2568 ถึงวันที่ 27 พฤษภาคม 2569 รวมระยะเวลาดำเนินการ 450 (สี่ร้อยห้าสิบ) วัน |
|
|
|
|